โดเมนระหว่างประเทศ

โดเมนระหว่างประเทศคือที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ที่เจาะจงไปยังประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งๆ เมื่อคุณตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศสำหรับประเทศหรือภูมิภาคหนึ่งๆ เท่ากับว่าคุณได้สร้างร้านค้าออนไลน์ในสกุลเงินและภาษาในเวอร์ชันที่เป็นภาษาท้องถิ่นของภูมิภาคนั้นขึ้น นอกจากนี้ คุณจะแสดงโดเมนที่เจาะจงไปยังภูมิภาคนั้นๆ ภายในผลลัพธ์การค้นหาเพื่อช่วยให้ลูกค้าค้นพบร้านค้าของคุณในเวอร์ชันที่เหมาะสมด้วย เมื่อร้านค้าออนไลน์ของคุณปรากฏในภาษาและสกุลเงินในพื้นที่ของลูกค้า ลูกค้าจะมีแนวโน้มในการซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น

ประสบการณ์การช้อปปิ้งที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นจะส่งผลต่อวิธีที่ลูกค้ารับรู้แบรนด์ของคุณและระยะเวลาที่ลูกค้าใช้ซื้อสินค้า เมื่อร้านค้าออนไลน์ของคุณปรากฏในภาษาและสกุลเงินในพื้นที่ของลูกค้า ลูกค้าจะมีแนวโน้มในการซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยการตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศ คุณจะสามารถดึงดูดลูกค้าจากประเทศและภูมิภาคอื่นๆ และสร้างชื่อเสียงในฐานะแบรนด์ระหว่างประเทศได้

คุณสามารถตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศได้ทั้งกับโดเมนที่จัดการโดย Shopify และโดเมนจากภายนอก คุณสามารถใช้โดเมนระดับสูงสุด โดเมนย่อย โฟลเดอร์ย่อย หรือแต่ละอย่างรวมกันได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณขายสินค้าทั้งในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสโดยใช้ภาษาและสกุลเงินที่แตกต่างกัน คุณสามารถใช้โดเมนระหว่างประเทศได้

  • shopify.com สำหรับสหรัฐอเมริกา
  • shopify.com/fr, fr.shopify.com หรือ shopify.com/fr-fr สำหรับประเทศฝรั่งเศส

ข้อพิจารณา

ก่อนที่คุณจะตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศ โปรดตรวจสอบข้อกำหนดและข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้:

  • คุณไม่สามารถสร้างโดเมนระหว่างประเทศจากโดเมน myshopify.com ของร้านค้าของคุณได้ คุณต้องใช้โดเมนแบบกำหนดเอง ซึ่งซื้อผ่าน Shopify หรือผู้ให้บริการโดเมนจากภายนอก
  • คุณสามารถสร้าง URL ของแต่ละตลาด ได้ เช่น shopify.de สำหรับตลาดเยอรมนีหรือ shopify.com/en-eu สำหรัยตลาดยุโรป
  • หากต้องการแสดงร้านค้าของคุณในหลายภาษา คุณต้องแปลเนื้อหาของร้านค้าออนไลน์คุณโดยเพิ่มบทแปลและแอป Adapt หรือใช้แอปจากภายนอกที่เข้ากันได้
  • หากคุณใช้ภาษาหลายภาษากับร้านค้าออนไลน์ของคุณที่มีรูปแบบ URL shopify.com/fr แสดงว่า URL ปัจจุบันของคุณจะยังคงใช้งานได้ต่อไป โฟลเดอร์ย่อยที่มีแต่ภาษาเท่านั้น เช่น /fr หรือ /en จะมีอยู่ในตลาดหลักของคุณเท่านั้น ส่วนในตลาดรองของคุณ โฟลเดอร์ย่อยจะต้องรวมรหัสภาษาเข้ากับรหัสประเทศเพื่อแสดงเนื้อหาที่กำหนดเองโดยใช้ภาษาและสกุลเงินในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น /fr-ca หรือ /en-eu ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้หลายภาษากับเครื่องมือการขายระหว่างประเทศ
  • หากคุณใช้โดเมนต่างประเทศหรือโฟลเดอร์ย่อยสำหรับตลาด แล้วลบเนื้อหาออกจากตลาดนั้น ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้การเปลี่ยนเส้นทาง URL เพื่อจะได้ไม่ส่งลูกค้าไปยังหน้าที่ไม่มีอยู่จริง
  • คุณต้องเปิดใช้งาน Shopify Payments เพื่อขายในหลายสกุลเงิน
  • หากคุณต้องการให้ร้านค้าของคุณแสดงเป็นหลายภาษา ให้ติดตั้งแอป Translate and Adapt (หรือแอปของผู้ให้บริการภายนอกที่เข้ากันได้)

URL ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับเฉพาะบางประเทศและภูมิภาค

เมื่อคุณตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศ คุณต้องสร้างที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ ที่คุณต้องการเสนอประสบการณ์การช้อปปิ้งที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นให้ แต่ละ URL จะสอดคล้องกับร้านค้าออนไลน์ของคุณในเวอร์ชันที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่น โดยขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณกำหนดค่าภาษาและสกุลเงินของร้านค้าออนไลน์คุณ หากคุณใช้ Shopify Payments คุณสามารถตั้งสกุลเงินเริ่มต้นของแต่ละ URL เป็นสกุลเงินในพื้นที่ของประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ ได้

คุณสามารถตั้งค่า URL ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละประเทศหรือภูมิภาคที่คุณต้องการกำหนดเป้าหมายได้

  • โดเมนระดับสูงสุด เช่น shopify.com/fr
  • โดเมนย่อย เช่น fr.shopify.com
  • โฟลเดอร์ย่อย เช่น shopify.com/fr-fr

คุณสามารถใช้หนึ่งวิธีหรือใช้วิธีการต่างๆ ร่วมกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ในเครื่องมือค้นหา (SEO) ของคุณ หากคุณตั้งค่าเครื่องมือการขายระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ให้ลองใช้โฟลเดอร์ย่อยซึ่งตั้งค่าได้อย่างง่ายดายและให้ประโยชน์ด้าน SEO

หากต้องการตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศสำหรับประเทศหรือภูมิภาคที่ต้องการ คุณจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ให้เสร็จสิ้น:

หลังจากที่คุณตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศของคุณแล้ว คุณต้องเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าของคุณไปยัง URL ที่ตรงกับการกำหนดลักษณะภาษาและตำแหน่งที่ตั้งของลูกค้า

เลือกใช้กลยุทธ์ SEO ที่เหมาะสมกับโดเมนระหว่างประเทศของคุณที่สุด

วิธีในการตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศแต่ละวิธีมีข้อควรพิจารณาเป็นของตนเองสำหรับการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ในเครื่องมือค้นหา (SEO) คุณสามารถใช้วิธีอย่างน้อยหนึ่งวิธีในการสร้าง URL เฉพาะภูมิภาคของคุณได้

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรใช้วิธีใด ให้ตรวจสอบข้อมูลต่อไปนี้ก่อนที่จะเริ่ม

ข้อควรพิจารณา SEO สำหรับโฟลเดอร์ย่อย

โฟลเดอร์ย่อยคือไดเรกทอรีย่อยหรือเส้นทางภายในโดเมนหลักของคุณ ซึ่งเป็นชื่อโดเมนที่แสดงไว้ในแถบที่อยู่ขณะที่ลูกค้าเรียกดูร้านค้าออนไลน์ของคุณ ตัวอย่างเช่น หากโดเมนหลักของร้านค้าคุณคือ shopify.com คุณสามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อยสำหรับประเทศแคนาดาด้วย URL shopify.com/en-ca และโฟลเดอร์ย่อยสำหรับประเทศฝรั่งเศสด้วย URL shopify.com/fr-fr

หากคุณตั้งค่าเครื่องมือการขายระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก โฟลเดอร์ย่อยถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • โฟลเดอร์ย่อยไม่ต้องตั้งค่ามาก
  • โฟลเดอร์ย่อยทำให้คุณเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าของคุณไปยัง URL ที่ตรงกับการกำหนดลักษณะภาษาและตำแหน่งที่ตั้งของตนได้โดยอัตโนมัติ
  • เนื่องจากโฟลเดอร์ย่อยเหล่านี้ใช้โดเมนหลักของคุณ URL เฉพาะภูมิภาคของคุณจะได้รับประโยชน์จากการจัดอันดับการค้นหาและคะแนนคุณภาพโดเมนที่มีอยู่ของร้านค้าคุณ

ข้อควรพิจารณา SEO สำหรับโดเมนย่อย

โดเมนย่อยคือชุดย่อยของโดเมนหลักที่คุณเพิ่มเป็นอักษรนำหน้าให้กับโดเมนของคุณ ตัวอย่างเช่น หากโดเมนหลักของร้านค้าคุณคือ shopify.com คุณสามารถสร้างโดเมนย่อยสำหรับประเทศแคนาดาด้วย URL ca.shopify.com และโดเมนย่อยสำหรับประเทศฝรั่งเศสด้วย URL fr.shopify.com

เนื่องจากโดเมนย่อยเป็นของโดเมนหลัก คุณสามารถตั้งค่าโดเมนย่อยเหล่านั้นได้กับทั้งโดเมนที่จัดการโดย Shopify และโดเมนจากภายนอกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม โดเมนย่อยเหล่านั้นอาจจะไม่ให้ประโยชน์ได้มากเท่าโดเมนย่อยจากการจัดอันดับการค้นหาและคำสำคัญของโดเมนหลักคุณ และอาจจะใช้เวลาในการพัฒนาคะแนนคุณภาพโดเมนมากกว่า

ข้อควรพิจารณา SEO ของโดเมนระดับสูงสุด

โดเมนระดับบนสุดคือส่วนขยายท้ายโดเมน หากต้องการใช้โดเมนระดับสูงสุดสำหรับ URL เฉพาะภูมิภาคของคุณ คุณต้องซื้อชื่อโดเมนแยกต่างหากพร้อมส่วนขยายโดเมนระดับสูงสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับตลาดเป้าหมายทุกแห่งที่คุณต้องการตั้งค่า ตัวอย่างเช่น หากโดเมนหลักของร้านค้าคุณคือ shopify.com คุณสามารถซื้อโดเมน .ca ของประเทศแคนาดาและโดเมน .fr ของประเทศฝรั่งเศส

ใช้โดเมนระดับสูงสุดเฉพาะเวลาที่คุณมีกลยุทธ์การกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับตลาดใหม่ที่กำลังคุณขยายออกไป เนื่องจากโดเมนระดับสูงสุดแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ร้านค้าของคุณในเวอร์ชันเฉพาะภูมิภาคแต่ละเวอร์ชันจะพัฒนาคะแนนคุณภาพโดเมนและการจัดอันดับการค้นหาของตนขึ้น ด้วยเหตุนี้ วิธีนี้จึงใช้แรงและเวลาในการสร้าง SEO ของคุณมากที่สุด

ข้อควรพิจารณา SEO สำหรับการใช้โดเมนหลักของคุณเท่านั้น

โดเมนหลักคือชื่อโดเมนที่จะปรากฏในแถบที่อยู่เมื่อลูกค้าเรียกดูร้านค้าออนไลน์ของคุณ

วิธีนี้จะช่วยให้คุณมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ปรับให้เหมาะกับท้องถิ่นซึ่งมีสกุลเงินและภาษาต่างๆ โดยไม่ต้องสร้าง URL แบบเจาะจงภูมิภาค แต่ URL เดียวกันจะใช้ได้กับทุกภาษาและสกุลเงินที่คุณตั้งค่า

เนื่องจากไม่ได้สร้าง URL แบบเจาะจงภูมิภาค วิธีนี้จะไม่ช่วยให้คุณได้รับยอดเข้าชมร้านค้าด้วย SEO จากตลาดรอง

ตั้งค่า URL ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับเฉพาะบางประเทศและภูมิภาค

เมื่อคุณตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศ เท่ากับว่าคุณจะเพิ่มที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL ที่ไม่ซ้ำกันให้กับแต่ละตลาดที่คุณต้องการเสนอประสบการณ์การช้อปปิ้งที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นให้ คุณสามารถตั้งค่า URL ที่ไม่ซ้ำกันได้โดยใช้วิธีเดียวหรือรวมวิธีต่างๆ ไว้ด้วยกันและคุณสามารถสับเปลี่ยนวิธีได้ตลอดเวลา

หากคุณไม่แน่ใจว่าควรใช้วิธีใด ให้ตรวจสอบกลยุทธ์ SEO ของโดเมนระหว่างประเทศต่างๆก่อนที่คุณจะเริ่ม หากคุณเริ่มสร้างตลาดเป็นครั้งแรก โฟลเดอร์ย่อยถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเนื่องจากตั้งค่าได้ง่ายและให้ประโยชน์ด้าน SEO อย่างเหมาะสม

ตามค่าเริ่มต้น ระบบจะเปิดใช้เพียงภาษาหลักของร้านค้าคุณเท่านั้นเมื่อคุณสร้างตลาดของคุณขึ้น หากคุณขายสินค้าในหลายๆ ภาษาและตั้งค่าโดเมนระหว่างประเทศโดยใช้โฟลเดอร์ย่อย โดเมนย่อย หรือโดเมนระดับสูงสุด คุณจะสามารถเปิดใช้ภาษาเพิ่มเติมสำหรับตลาดแต่ละแห่งได้ หากคุณไม่ได้ขายสินค้าในหลายๆ ภาษา จะมีเพียงภาษาหลักของคุณเท่านั้นที่พร้อมใช้งาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การขายสินค้าในหลายๆ ภาษา

ตั้งค่าตลาดเป้าหมายโดยใช้โดเมนหลักของคุณเท่านั้น

เมื่อคุณตั้งค่าตลาดของคุณให้ใช้โดเมนหลักของคุณเท่านั้น คุณไม่จำเป็นต้องกําหนดค่าตัวเลือกใดๆ เพิ่มเติมในส่วนผู้ดูแล Shopify ของคุณ เนื่องจากตลาดทั้งหมดใช้ URL ร้านค้าเดียวกัน คุณจึงไม่สามารถปรับแต่งให้ภาษาใดภาษาหนึ่งพร้อมให้บริการในตลาดแต่ละแห่งได้

ขั้นตอนมีดังนี้

  1. ในส่วนผู้ดูแล Shopify ให้ไปที่การตั้งค่า > ตลาด

  2. คลิกที่ชื่อของตลาดที่คุณต้องการจะจัดการ

  3. ในส่วนการตั้งค่าตลาด ให้คลิก "ภาษาและโดเมน"

  4. คลิก "จัดการโดเมน" จากนั้นเลือก "ใช้การกําหนดค่าตลาดหลัก"

  5. แล้วคลิกที่บันทึก

เพิ่มโดเมนหลายโดเมนไปยังตลาดหลักของคุณ

หากคุณมีโดเมนหลายโดเมนที่ต้องการใช้ในตลาดเป้าหมายหลัก สามารถเพิ่มโดเมนอื่นไปยังตลาดนั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากตลาดหลักของคุณคือแคนาดา และต้องการมอบประสบการณ์การใช้งานทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสให้แก่ลูกค้าของคุณด้วยโดเมนเฉพาะภูมิภาคแยกกัน คุณสามารถเพิ่มโดเมนทั้งสองโดเมนไปยังตลาดแคนาดาได้

ขั้นตอนมีดังนี้

  1. ในส่วนผู้ดูแล Shopify ให้ไปที่การตั้งค่า > ตลาด

  2. คลิกที่ชื่อของตลาดหลัก

  3. ในส่วนการตั้งค่าตลาด ให้คลิก "ภาษาและโดเมน" จากนั้นคลิก "จัดการโดเมน"

  4. ในกล่องโต้ตอบจัดการโดเมน ให้คลิก ใช้โดเมนหลายโดเมน > + เพิ่มโดเมนที่มีอยู่ หรือ สร้างใหม่ จากนั้นเลือกโดเมนที่คุณต้องการเพิ่มจากเมนูดรอปดาวน์

  5. เลือกภาษาเริ่มต้นของโดเมนจากเมนูดรอปดาวน์ค่าเริ่มต้น

  6. แล้วคลิกที่บันทึก

ตั้งค่าตลาดเป้าหมายโดยใช้โดเมนหรือโดเมนย่อย

ก่อนที่คุณจะสามารถใช้โดเมนระดับสูงสุดหรือโดเมนย่อยสำหรับ URL เฉพาะภูมิภาคของคุณได้นั้น คุณต้องเพิ่มโดเมนหรือโดเมนย่อยในแต่ละตลาดที่คุณต้องการตั้งค่า หลังจากที่คุณเพิ่มโดเมนหรือโดเมนย่อยของคุณแล้ว ให้กําหนดโดเมนเหล่านั้นไปยังตลาดเป้าหมายและเปิดใช้ภาษาที่คุณต้องการแสดง

ขั้นตอนมีดังนี้

  1. ในส่วนผู้ดูแล Shopify ให้ไปที่การตั้งค่า > ตลาด

  2. คลิกที่ชื่อของตลาดที่คุณต้องการจะมอบหมายโดเมนแยกต่างหาก

  3. ในส่วนการตั้งค่าตลาด ให้คลิก "ภาษาและโดเมน"

  4. คลิก "จัดการโดเมน" จากนั้นเลือก "ใช้โดเมน/โดเมนย่อยแยกต่างหาก"

  5. จากรายการโดเมนหรือโดเมนย่อย ให้เลือกโดเมนระดับสูงสุดหรือโดเมนย่อยที่คุณต้องการกําหนดไปยังตลาดนี้

  6. ตัวเลือกเสริม ในส่วนภาษา ให้เลือกภาษาที่คุณต้องการเปิดใช้งานในตลาดนี้

  7. แล้วคลิกที่บันทึก

หลังจากที่คุณตั้งค่าตลาดเป้าหมายโดยใช้โดเมนหรือโดเมนย่อยแล้ว คุณสามารถสลับไปใช้วิธีอื่นได้ตราบเท่าที่โดเมนหรือโดเมนย่อยที่เกี่ยวข้องยังเชื่อมต่ออยู่ในส่วนผู้ดูแล Shopify ของคุณ หากคุณลบโดเมนหรือโดเมนย่อยออก ระบบจะแสดงหน้าข้อผิดพลาด 404 ให้แก่ลูกค้าที่พยายามเข้าชม URL เฉพาะภูมิภาคนั้น

ตั้งค่าตลาดเป้าหมายโดยใช้โฟลเดอร์ย่อย

เมื่อคุณตั้งค่า URL ที่ไม่ซ้ำกันโดยใช้โฟลเดอร์ย่อย คุณจะต้องเพิ่มอักษรตามหลังเฉพาะภูมิภาคที่แสดงในส่วนท้าย URL ของคุณหลังจากใช้อักษรตามหลังสองตัวอักษรสำหรับแต่ละภาษาที่ตลาดรองรับ หากคุณขายสินค้าในหลายๆ ภาษา คุณสามารถเปิดใช้หลายๆ ภาษาสำหรับแต่ละตลาดได้

ตัวอย่างเช่น หากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักของคุณบน shopify.com คุณสามารถใช้แฟ้มย่อยเพื่อกำหนดตลาดเป้าหมายสำหรับแคนาดาผ่าน shopify.com/en-ca ได้ หากคุณตัดสินใจที่จะสร้างตัวเลือกภาษาฝรั่งเศสให้กับลูกค้าในแคนาดาของคุณด้วย ตัวเลือกนั้นจะได้รับแฟ้มย่อยใหม่ของตัวเองใน shopify.com/fr-ca

ขั้นตอนมีดังนี้

  1. ในส่วนผู้ดูแล Shopify ให้ไปที่การตั้งค่า > ตลาด

  2. คลิกที่ชื่อของตลาดที่คุณต้องการจะตั้งโฟลเดอร์ย่อย

  3. ในส่วนการตั้งค่าตลาด ให้คลิก "ภาษาและโดเมน"

  4. คลิก "จัดการโดเมน" จากนั้นเลือก "ใช้โฟลเดอร์ย่อย"

  5. ในช่องอักษรตามหลังโดเมน ให้ป้อนอักษรตามหลังเฉพาะภูมิภาคสำหรับตลาดเป้าหมายของคุณ ตัวอย่างเช่น eu สำหรับทวีปยุโรปหรือ ca สำหรับประเทศแคนาดา

  6. ตัวเลือกเสริม ในส่วนภาษา ให้เลือกภาษาที่คุณต้องการเปิดใช้งานในตลาดนี้

  7. แล้วคลิกที่บันทึก

ระบบได้สร้างโฟลเดอร์ย่อยโดยใช้โดเมนหลักของคุณ

หากคุณตัดสินใจลบตลาดที่ใช้โฟลเดอร์ย่อยในภายหลัง ระบบจะแสดงหน้าข้อผิดพลาด 404 ให้แก่ลูกค้าที่พยายามเข้าชม URL เฉพาะภูมิภาคนั้น หากต้องการเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าเหล่านั้นไปยังโดเมนหลักของคุณหรือ URL เฉพาะภูมิภาคอื่น คุณสามารถนําเข้าการเปลี่ยนเส้นทาง URL ได้โดยใช้ไฟล์ CSV

การจัดการโดเมนระหว่างประเทศ

การติดตามตรวจสอบและบำรุงรักษาโดเมนระหว่างประเทศของคุณอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าในภูมิภาคต่างๆ สามารถเข้าถึงร้านค้าของคุณได้

แก้ไขโดเมน

ในส่วนผู้ดูแล Shopify ของคุณ ภายใต้ การตั้งค่า > โดเมน คุณสามารถ

  • ตั้งค่าหรือเปลี่ยนการตั้งค่า DNS ของคุณ
  • เพิ่มโดเมนย่อยใหม่สำหรับภูมิภาคต่างๆ
  • อัปเดตใบรับรองความปลอดภัยของคุณให้ทันสมัยอยู่เสมอ

ติดตามประสิทธิภาพ

Shopify Analytics ช่วยให้คุณเข้าใจว่าร้านค้าของคุณเป็นอย่างไรในแต่ละภูมิภาค

  • ดูว่าผู้เยี่ยมชมของคุณมาจากที่ไหนบ้าง
  • ตรวจสอบว่าภูมิภาคใดที่ขายได้มากที่สุด
  • ดูว่าลูกค้าชอบใช้ภาษาและสกุลเงินใดบ้าง

สลับวิธีการกำหนดค่า

คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการตั้งค่าโดเมนของคุณได้หากจำเป็น

  • สลับระหว่าง URL ประเภทต่างๆ เช่น โดเมนย่อยหรือโฟลเดอร์ย่อย
  • รักษาอันดับการค้นหาของคุณเมื่อทำการเปลี่ยนแปลง
  • อัปเดตการตั้งค่าภาษาของร้านค้าของคุณ

ขั้นตอนถัดไป

หลังจากที่คุณตั้งค่า URL เฉพาะภูมิภาคของคุณแล้ว โปรดพิจารณา ส่งแผนผังเว็บไซต์ ของทุกโดเมนและโดเมนย่อยใน Google Search Console ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการของ Google ในการจัดทำดัชนีเลย์เอาต์ใหม่ของร้านค้าของคุณ

การเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังประเทศหรือภูมิภาคที่ถูกต้อง

หลังจากที่คุณตั้งค่าตลาดของคุณที่ใช้ภาษาและสกุลเงินที่แตกต่างกันแล้ว คุณต้องเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังประสบการณ์การช้อปปิ้งที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นของพวกเขา คุณสามารถใช้วิธีการต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกค้าของคุณค้นหาร้านค้าของคุณในเวอร์ชันที่เหมาะสมที่ตรงกับการกำหนดลักษณะภาษาและตำแหน่งที่ตั้งของพวกเขาได้:

  • การเปลี่ยนเส้นทางโดเมนอัตโนมัติ - เมื่อคุณเปิดใช้งานการตั้งค่านี้บนส่วนผู้ดูแล Shopify ระบบจะเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าในร้านค้าออนไลน์ของคุณไปยัง URL ที่ตรงกับภาษาและตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลูกค้าที่เบราว์เซอร์บันทึกไว้โดยอัตโนมัติ
  • แอประบุตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ - แอปจากภายนอกที่เข้ากันได้ซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อสร้างคำแนะนำด้านภาษาและประเทศให้กับลูกค้าตามตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และภาษาของเบราว์เซอร์หรืออุปกรณ์
  • Deep Links - เมื่อมีหลายประเทศอยู่ในตลาดเดียวกัน หรือตลาดไม่มี URL ของตนเอง คุณสามารถนำลูกค้าไปสู่ประสบการณ์ที่ถูกต้องของประเทศหรือภูมิภาคของตนด้วย Deep Link

เมื่อคุณต้องการนำลูกค้าไปสู่ประสบการณ์ที่ถูกต้องของประเทศหรือภูมิภาคของตน แต่ประเทศหรือภูมิภาคนั้นไม่มี URL ของตัวเอง คุณสามารถใช้ Deep Links ได้

Deep Links ใช้พารามิเตอร์ที่คุณเพิ่มไปยังส่วนท้ายของ URL ของคุณด้วยตนเอง ซึ่งสามารถใช้ในแคมเปญการตลาด การแชร์ลงโซเชียลมีเดีย หรือการแชร์ลิงก์ใดๆ ที่คุณตั้งเป้าหมายไปยังประเทศหรือภูมิภาคที่กำหนดได้คุณสามารถสร้างพารามิเตอร์ที่จะส่งลูกค้าไปยังประเทศหรือภูมิภาคที่ถูกต้องโดยใช้รหัสประเทศสองหลักตามมาตรฐาน ISO 3166 ได้

ตัวอย่างเช่น คุณมีตลาดที่มีชื่อว่า Europe ซึ่งประกอบด้วย 44 ประเทศทั้งหมดในโดเมน shop.com ของคุณ คุณต้องการทำแคมเปญทางการตลาดโดยเฉพาะสำหรับประเทศเยอรมนี ซึ่งจะนำผู้เยี่ยมชมจากเยอรมนีของคุณไปสู่ประสบการณ์ที่ถูกต้องโดยตรง ซึ่งคุณทำได้โดยต้องใช้ URL shop.com?country=DE

การใช้แท็ก hreflang เพื่อเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าของคุณไปยัง URL เฉพาะภูมิภาคของตน

แท็ก Hreflang คือองค์ประกอบโค้ดในธีมของคุณที่เปิดใช้เครื่องมือค้นหาเพื่อระบุว่าเว็บไซต์จะใช้ภาษาและภูมิภาคใด จากนั้นส่งคืน URL ที่เหมาะสมโดยอิงจากภาษาและตำแหน่งที่ตั้งของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ร้านค้าของคุณอาจมี URL เริ่มต้นเป็น shopify.com และ URL ภาษาสเปนเป็น es.shopify.com เมื่อลูกค้าอยู่ในสเปนและมีการตั้งค่าภาษาสเปนบนอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์ของตน แท็ก Hreflang ในธีมของคุณจะเพิ่มแนวโน้มที่ลูกค้าจะได้รับการเปลี่ยนเส้นทางไปยัง URL ภาษาสเปน

เนื่องจากแท็ก hreflang จะระบุ URL ที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นของคุณให้เป็นเวอร์ชันภูมิภาคแทนที่จะเป็นเว็บเพจที่ซ้ำกัน จึงจําเป็นต่อ SEO

ระบบจะสร้างแท็กและเมตาแท็ก hreflang ขึ้นโดยอัตโนมัติสำหรับโดเมนระหว่างประเทศหรือโฟลเดอร์ย่อยทุกอันที่คุณตั้งค่าไว้ แผนผังเว็บไซต์ของคุณยังมีภาษาที่เผยแพร่ทั้งหมดอยู่ด้วยเพื่อช่วยให้เครื่องมือค้นหาตรวจพบภาษาต่างๆ ในร้านค้าของคุณได้

การแก้ไขปัญหา

  • ข้อผิดพลาด 404 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตลาดที่ถูกลบออกนั้นมีการเปลี่ยนเส้นทางที่ถูกต้อง
  • สกุลเงินหรือภาษาไม่ตรงกัน ตรวจสอบการเปิดใช้งาน Shopify Payments และการกำหนดค่าแอปภาษา
  • เนื้อหาที่ซ้ำกัน หลีกเลี่ยงการใช้เนื้อหาที่เหมือนกันในหลายโดเมนโดยไม่มี แท็กhreflang
ไม่พบคำตอบที่คุณต้องการงั้นหรือ เราพร้อมช่วยเหลือคุณ